การบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง

คือการวางแผนและกลยุทธ์อย่างรอบคอบทั้งจากโอกาสและความไม่แน่นอนในการบริหารความเสี่ยง เป็นกระบวนการที่สำคัญซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถระบุ ประเมิน และควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีหลักการ ประโยชน์ และขั้นตอนสำคัญดังนี้

หลักการของการจัดการความเสี่ยง

การระบุความเสี่ยงอย่างครอบคลุม การระบุความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร
จากนั้นจึงทำการประเมินความเสี่ยง โดยการประเมินความเป็นไปได้และผลกระทบของ
แต่ละความเสี่ยง และการกำหนดลำดับความสำคัญความเสี่ยงตามความสำคัญและ
ความเร่งด่วน และดำเนินการตอบสนองต่อความเสี่ยง โดยการพัฒนา แผนการจัดการเพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยง เพราะธุรกิจต่อเผชิญกับความไม่แน่นอนเสมออยู่ การจัดการความเสี่ยงจึงเป็นการจัดการกับอนาคตที่จะเกิดขึ้นของสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ต่อเป้าหมายขององค์กร HAA เรามีองค์ความรู้ในระดับแนวปฏิบัติที่ดีระดับโลกที่จะช่วยองค์กรและลูกค้า
ของเราเผชิญกับความเสี่ยงทางธุรกิจ และจัดการอย่างมืออาชีพ

People Discuss About Graphs and Rates

ประโยชน์ของการจัดการความเสี่ยง

การจัดการความเสี่ยงจะช่วยลดผลกระทบที่เป็นลบ โดยจะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจเพราะการมีข้อมูลความเสี่ยงที่ดีช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยปรับปรุงการวางแผนและการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนสำคัญในการจัดการความเสี่ยง

  1. การระบุความเสี่ยง การตรวจสอบและระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในทุกด้านขององค์กร
  2. การประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเป็นไปได้และผลกระทบของความเสี่ยงที่ระบุ
  3. การกำหนดกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง การพัฒนาแผนการจัดการเพื่อลด โอน หลีกเลี่ยง หรือยอมรับความเสี่ยง
  4. การดำเนินการและการติดตาม การดำเนินการตามแผนและการติดตามผลการจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
  5. การทบทวนและปรับปรุง การทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดการความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตรงกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
  6. การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนและความท้าทายได้อย่างมั่นใจ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และสร้างความมั่นคงในระยะยาว

บริการของ HAA

HAA บริการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม และนำเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง (Artificial intelligence: AI) มาช่วยในการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรของท่านสามารถตระหนักและจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

            1. การประเมินความเสี่ยงและการประเมินสภาพการณ์ของความเสี่ยง (Risk Assessment) ขั้นตอนนี้เป็นการระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร (Risk Factor: RF) ทั้งความเสี่ยงจาก Strategy, Financial, Operation, Legal, Hazard โดยการประเมินจากสถานการณ์ข้อเท็จจริงของความเสี่ยงในปัจจุบันขององค์กร พร้อมระบุคำนิยามของระดับความน่าจะเป็น และผลกระทบของต้นเหตุความเสี่ยงตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 5

HAA บริการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม และนำเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง (Artificial intelligence: AI) มาช่วยในการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรของท่านสามารถตระหนักและจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

            1. การประเมินความเสี่ยงและการประเมินสภาพการณ์ของความเสี่ยง (Risk Assessment) ขั้นตอนนี้เป็นการระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร (Risk Factor: RF) ทั้งความเสี่ยงจาก Strategy, Financial, Operation, Legal, Hazard โดยการประเมินจากสถานการณ์ข้อเท็จจริงของความเสี่ยงในปัจจุบันขององค์กร พร้อมระบุคำนิยามของระดับความน่าจะเป็น และผลกระทบของต้นเหตุความเสี่ยงตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 5

            2. การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการประเมินระดับความเสี่ยง (Risk Analysis) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการวิเคราะห์ลึกลงไปในแต่ละความเสี่ยงที่ระบุไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ (Risk Factor: RF) เพื่อทำความเข้าใจถึงต้นเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นของความเสี่ยง เป็นการประเมินความเสี่ยงต่างๆ ตามโอกาสความน่าจะเป็น (Likelihood: L) และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Impact: I) และนำมาประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์โดยนำ L และ I มาประเมินระดับความเสี่ยง (Risk Matrix) โดยแบ่งระดับความเสี่ยงเป็น Extreme (ค่าคะแนน 16-25) – High (ค่าคะแนน 12-15)– Middle (ค่าคะแนน 8-10) – Low (ค่าคะแนน 1-6)

            3. การจัดลำดับความเสี่ยง (Risk Prioritization) หลังจากที่ได้วิเคราะห์ความเสี่ยงต่างๆ ตามเกณฑ์ของ Likelihood และ Impact แล้ว จะถูกจัดลำดับตามความสำคัญ/ความเร่งด่วนในการจัดการ โดยจะนำความเสี่ยงที่มีค่าคะแนนสูงตามลำดับจาก Extreme และ High มาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่กระทบต่อองค์กร

            4. การพัฒนาแผนการจัดการความเสี่ยง (Risk Management Planning) เป็นขั้นตอนที่จะกำหนดวิธีการจัดการกับความเสี่ยงที่ระบุไว้ รวมถึงการควบคุม การโอนย้าย หรือการยอมรับความเสี่ยง และการกำหนดระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้

            5. การดำเนินการและติดตามความเสี่ยง (Implementation and Monitoring) นำแผนการจัดการความเสี่ยงไปใช้และติดตามผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่ามาตรการที่ดำเนินการไปนั้นมีประสิทธิผลหรือไม่

            6. การประเมินผลและการปรับปรุง (Evaluation and Improvement) การประเมินผลการจัดการความเสี่ยงและการทบทวนเพื่อปรับปรุงแผนและกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Risk Monitoring reporting) รวมถึงการเพิ่มมาตรการของการจัดการความเสี่ยงที่ควรจะมีเพิ่มเติม

HAA บริการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม และนำเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง (Artificial intelligence: AI) มาช่วยในการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรของท่านสามารถตระหนักและจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

            1. การประเมินความเสี่ยงและการประเมินสภาพการณ์ของความเสี่ยง (Risk Assessment) ขั้นตอนนี้เป็นการระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร (Risk Factor: RF) ทั้งความเสี่ยงจาก Strategy, Financial, Operation, Legal, Hazard โดยการประเมินจากสถานการณ์ข้อเท็จจริงของความเสี่ยงในปัจจุบันขององค์กร พร้อมระบุคำนิยามของระดับความน่าจะเป็น และผลกระทบของต้นเหตุความเสี่ยงตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 5

            2. การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการประเมินระดับความเสี่ยง (Risk Analysis) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการวิเคราะห์ลึกลงไปในแต่ละความเสี่ยงที่ระบุไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ (Risk Factor: RF) เพื่อทำความเข้าใจถึงต้นเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นของความเสี่ยง เป็นการประเมินความเสี่ยงต่างๆ ตามโอกาสความน่าจะเป็น (Likelihood: L) และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Impact: I) และนำมาประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์โดยนำ L และ I มาประเมินระดับความเสี่ยง (Risk Matrix) โดยแบ่งระดับความเสี่ยงเป็น Extreme (ค่าคะแนน 16-25) – High (ค่าคะแนน 12-15)– Middle (ค่าคะแนน 8-10) – Low (ค่าคะแนน 1-6)

            3. การจัดลำดับความเสี่ยง (Risk Prioritization) หลังจากที่ได้วิเคราะห์ความเสี่ยงต่างๆ ตามเกณฑ์ของ Likelihood และ Impact แล้ว จะถูกจัดลำดับตามความสำคัญ/ความเร่งด่วนในการจัดการ โดยจะนำความเสี่ยงที่มีค่าคะแนนสูงตามลำดับจาก Extreme และ High มาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่กระทบต่อองค์กร

            4. การพัฒนาแผนการจัดการความเสี่ยงระยะ 5 ปี (Risk Management Planning) เป็นขั้นตอนที่จะกำหนดวิธีการจัดการกับความเสี่ยงที่ระบุไว้ รวมถึงการควบคุม การโอนย้าย หรือการยอมรับความเสี่ยง และการกำหนดระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้

            5. การดำเนินการและติดตามความเสี่ยง (Implementation and Monitoring) นำแผนการจัดการความเสี่ยงไปใช้และติดตามผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่ามาตรการที่ดำเนินการไปนั้นมีประสิทธิผลหรือไม่

            6. การประเมินผลและการปรับปรุง (Evaluation and Improvement) การประเมินผลการจัดการความเสี่ยงและการทบทวนเพื่อปรับปรุงแผนและกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Risk Monitoring reporting) รวมถึงการเพิ่มมาตรการของการจัดการความเสี่ยงที่ควรจะมีเพิ่มเติม

            7. การจัดการความเสี่ยงให้ยั่งยืน (The sustainability of Risk management) เป็นการนำระดับของการจัดการโอกาสการเกิดความเสี่ยง และระดับของการจัดการผลกระทบของความเสี่ยงมาจัดทำเป็นบทสรุป เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาของการจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

ความสำเร็จของ HAA และลูกค้าของเรา

  • การกีฬาแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎ
  • กรมควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก
  • สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

ทีมที่ปรึกษา

ดร.วัชรวิชญ์ กีรติดุสิตโรจน์

– ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารยุทธศาสตร์ทั่วทั้งองค์กร
– ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายใน
– ปฏิบัติการพื้นที่ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย

ดร.ชัยวัฒน์ เอมวงศ์

– ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายใน
– ปฏิบัติการพื้นที่ในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน

ดร.อำนาจ วัดจินดา

– ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเสี่ยง และการพัฒนาองค์กร
– ปฏิบัติการพื้นที่ในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน

HAA เราให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยงอย่างครบวงจร จำไว้เสมอว่า “การไม่มีความเสี่ยงคือยังไม่มีการพัฒนา และการไม่จัดการความเสี่ยงเมื่อมีความเสี่ยงก็จะทำให้องค์กรไม่พัฒนาเช่นเดียวกัน”