เศรษฐกิจนอกระบบ เป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทย โดยหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้รับการบันทึกอย่างเป็นทางการและไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งรวมถึงการค้าขายแบบไม่เป็นทางการ การรับจ้างทั่วไป และธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่ได้จดทะเบียน ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบ และได้ดำเนินนโยบายหลายประการ เช่น การส่งเสริมการจดทะเบียนธุรกิจโดยรัฐบาลได้พยายามลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนธุรกิจ หรือการขยายความคุ้มครองทางสังคมซึ่งรัฐบาลได้ขยายระบบประกันสังคมมาตรา 40 เพื่อให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ หรือการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการส่งเสริมการให้สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ (นาโนไฟแนนซ์) และนอกจากนั้นยังมีการพัฒนาทักษะและการฝึกอบรมโดยกระทรวงแรงงานได้จัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานนอกระบบ รวมทั้งการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งรัฐบาลได้ส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” เพื่อช่วยในการบริหารจัดการการเงินและการทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย อย่างไรก็ตาม การนำเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญ เนื่องจากมีอุปสรรคหลายประการ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนินนโยบายอย่างต่อเนื่องและบูรณาการ เพื่อสร้างแรงจูงใจและลดอุปสรรคในการเข้าสู่ระบบ Harvard Asia academy จึงนำเสนอแนวคิด และการปฏิบัติการเพื่อการแปลงนโยบายการนำเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบในประเทศไทยจากบทความต่อไปนี้